กำปั๋นปอน ปี๋ใหม่เมือง

0
10668
กำปั๋นปอนนี้เป็นคำอวยพรภาษาคำเมือง ล้านนา จะใช้อวยพรตอนลูกหลานมาดำหัวในช่วงเทศกาลปี๋ใหม่เมือง หรือสงกรานต์

กำปั๋นปอนปี๋ใหม่ภาษาคำเมือง  (ป้อแม่ครูบาอาจ๋ารย์เวลาลูกหลานมาดำหัว)

คําว่า “ปั๋นปอน” เป็นภาษาเหนือ หมายถึง ให้พร หรืออวยพร โดยแท้จริงแล้วคําว่า “พร” นั้น แปลว่า “คําพูดที่แสดงความปรารถนา” ซึ่งเกิดจากผู้รับพร ต้องการความดีความเป็นมงคล เมื่อมีการอวยพร หรือรับพร ทุกคนจะรู้สึกได้ทันทีว่า นั่นเป็นสิ่งดีเป็นสิ่งดีงามที่เกิดขึ้นในตอนนั้นเพราะอะไร เพราะมีคุณธรรม อย่างหนึ่งเกิดขึ้นเสมอ ในการให้พรนั้นคือ “เมตตาธรรม” เป็นความเมตตาของผู้ให้พร ที่ประสงค์จะให้ผู้รับ มีความสุข มีความเจริญ ได้รับสิ่งที่ดีผู้รับเองก็รู้สึกได้ในทันทีดังนั้น การให้พร และรับพร จึงเป็นสิ่งที่ดีเสมอ

โดยธรรมเนียมในการขอพรจากผู้ใหญ่นั้น ก่อนอื่นต้องขอขมาท่านเสียก่อน เพราะว่าเวลา เกิดความโลภ ความโกรธ ความหลงขึ้นมา บางครั้งเราก็คิดไม่ค่อยดีกับท่านเหมือนกัน จึงถือโอกาสนี้ขอขมาลา โทษที่เคยทําผิดคิดล่วงเกินท่าน ทั้งต่อหน้าก็ดีทั้งลับหลังก็ดีขอท่านจงให้อภัย อย่าได้จองเวร จองกรรม อย่าให้เป็นบาปติดตัวเราไปเลย เมื่อขอขมาลาโทษเสร็จ ก็ขอแนวทางในการทํางานที่ถูกต้อง หรือขอแนวทาง ในการที่จะละความโลภ ความโกรธ และความหลงจากท่าน เพราะว่าท่านคงเคยพบอุปสรรค ทํานองเดียวกับ เรามาแล้วมากมาย เพราะฉะนั้น ความจริง “การขอพร” ก็คือ “การขอหลักในการแก้ไขตัวเอง”

กำปั๋นปอนนี้เป็นคำอวยพรภาษาคำเมือง ล้านนา จะใช้อวยพรตอนลูกหลานมาดำหัวในช่วงเทศกาลปี๋ใหม่เมือง หรือสงกรานต์ของทางภาคกลาง

เอวัง โหนตุ ดีและ อัจจะในวันนี้ ก็หากเป๋นวันดี ดิถีอันวิเศษเหตุว่าสังขารปี๋เก่าก็ล่วงป๊นไปแล้ว ปี๋ใหม่แก้วพญาวันก็มาจุจอดรอดเถิงแก่บรรดาลูกหลานตังหลาย บัดนี้หมายมี…(ออกชื่อ)… เจ้าก็บ่ละเสียยังฮีต บีรีดเสียยังป๋าเวณี เจ้าตังหลาย ก็ยังได้น้อมนำมายังมะธุบุบผาลาจาดวงดอกเข้าตอกดอกไม้ลำเตียน และสุคันโธตะกะ อัมภิโรตะกะ สัปป๊ะวัตถุนานาตังหลาย มาสะมาคาระวะยังต๋นตั๋วแห่งผู้ข้า บัดนี้ผู้ข้าก็มีธัมมะเมตต๋า ปฏิคะหะ รับเอาแล้ว ว่าสันนี้แต๊ดีหลี

แม่นว่าเจ้าตังหลายได้ออกปากล้ำกำเหลือ ขึ้นตี้ต่ำ ย่ำตี้สูง ปะมาต๊ะ ด้วย ก๋ายะกั๋มมัง วจี๋กั๋มมัง มะโนกั๋มมัง สังจิตจะ อสังจิตจะก็ดี ผู้ข้าก็ขออโหสิกรรม อย่าได้เป๋นนิวรณ์ธรรมกั๋มอันแก่กล้าอัน ตัดห้ามเสียยังจั้นฟ้าและเนรปาน แม่นว่าเจ้าตังหลายจักไปจตุทิสสะ อัฐฐะทิสสะ วันตกวันออก ขอกใต้หนเหนือ ค้าขายลายล่อง ท่องบ้านแอ่วเมือง และอยู่ยังบ้านจองหอเฮือน ดั่งอั้นก็ดีขอจุ่งหื้อจุ่มเนื้อเย็นใจ๋ ภัยยะอย่ามี ตึงเมื่อหลับเมื่อตื่น เมื่อยืนเมื่อนั่งเป๋นตี้รักจ๋ำเริญใจ๋แก่หมู่คนและเตวดาตังหลาย แล้วจุ่งหื้อก้านกุ่งรุ่งเรือง ไปด้วยโภคะ ธนะ ธนัง เข้าของเงินคำ สัมปะติตังหลาย แม่นจักกิ๋นก็อย่าหื้อผลาญ แม่นจักตานก็อย่าหื้อเสี้ยง หื้อมีอายุตีฆาหมั้นยืนยาวนั้น เตี้ยงแต๊ดีหลี

สัพพีติโย วิวัชชันตุ สัพพะโรโค วินัสสะตุ มาเต ภะวัตวันตะราโย สุขี ทีฆายุโก ภะวะ อภิวาทะนะสี ลิสสะนิจจัง วุฒฒาปะจายิโน จัตตาโร ธัมมา วัฒฑันติ อายุ วัณโณ สุขัง พะลัง

เมื่อปั๋นปอนเสร็จก็จะวักเอาเอาน้ำเข้ามิ้นส้มป่อยที่ลูกหลานนำมา ลูบหน้าลูบหัว ถือเป๋นก๋ารดำหัวต๋ามจารีต ป๋าเวณีเมืองเหนือเฮา ถ้าจะมัดมือก็ใช้บทพุทโธ หรือ คำมัดมือ สำหรับผูกด้ายมัดมือให้ลูกหลาน