คำนาม สรรพนาม ภาษาเหนือ

0
11563
คำนาม สรรพนาม ภาษาเหนือ คำนามเรียกชื่อ คน สัตว์ สิ่งของ คำสรรพนาม ใช้เรียกแทนคำนาม ในภาษาถิ่นเหนือนั้น ก็มีบางคำที่เรียกเหมือนกันกับภาษากลาง แต่ก็มีอีกมากมายที่เรียกแตกต่างเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของภาษาเหนือ หรือภาษากำเมืองล้านนาเอง

คำนาม สรรพนาม ภาษาเหนือ คำนามเรียกชื่อ คน สัตว์ สิ่งของ คำสรรพนาม ใช้เรียกแทนคำนาม ในภาษาถิ่นเหนือนั้น ก็มีบางคำที่เรียกเหมือนกันกับภาษากลาง แต่ก็มีอีกมากมายที่เรียกแตกต่างเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของภาษาเหนือ หรือภาษากำเมืองล้านนาเอง

แม้ว่าจะมีคำชนิดต่าง ๆ ที่ใช้ร่วมกันทั้งภาษาไทยมาตรฐานและภาษาไทยถิ่นเหนือ คำนาม คำสรรพนาม ภาษาเหนือนั้น ก็มีคำเฉพาะถิ่นเฉพาะภาษาที่ไม่เหมือนภาษาใด ๆ เลย อยู่มากพอสมควร และด้วยการที่เป็นภาษาเหนือ กำเมืองล้านนานั้น ในหลาย ๆ ภาคต่างยกย่องให้ภาษาเหนือเป็นภาษาที่พูดตามได้ง่าย มีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง มีความอ่อนหวานไพเราะ น่าฟัง ซึ่งเมื่อได้ยินแล้วก็จะรู้เลยว่าเป็นภาษาของถิ่นไหน ภาคไหนของประเทศไทย และเมื่อเป็นภาษาเหนือแล้วล่ะก็ ก็อดคิดถึงวัฒนธรรมประเพณี งานเทศกาลต่าง ๆ ของภาคเหนือเป็นไม่ได้เลย รวมทั้งเพลงกำเมือง ที่ฟังแล้วไพเราะเสนาะหูมาก ๆ มาดูกันว่าคำนาม สรรพนาม ภาษาเหนือ นั้นมีอะไรกันบ้าง

คำนาม ภาษาเหนือ

คำนาม คือคำที่ใช้เรียกชื่อ คน สัตว์ สิ่งของ ตลอดจนสถานที่ต่าง ๆ คำนามในภาษาไทยถิ่นเหนือที่น่าสนใจมีดังนี้

ผู้ชาย ภาษาเหนือ คือ ป้อจาย

ผู้หญิง ภาษาเหนือ คือ แม่ญิง

พ่อ ภาษาเหนือ คือ ป้อ, อี่ป้อ

แม่ ภาษาเหนือ คือ แม่, อี่แม่

ปู่ ภาษาเหนือ คือ ป้ออุ๊ย

ย่า ภาษาเหนือ คือ แม่อุ๊ย

ตา ภาษาเหนือ คือ ป้ออุ๊ย

ยาย ภาษาเหนือ คือ ป้ออุ๊ย

ปู่ ย่า ตา ยาย ภาษาเหนือ แบบเรียกเหมือนกันหมด คือ อุ๊ย

ปู่ ตา ภาษาเหนือ คือ แบบหลานเรียก อุ๊ยหลวง

ย่า ยาย ภาษาเหนือ คือ แบบหลานภายในบ้านเรียก อุ๊ยหน้อย

ปู่ทวด ภาษาเหนือ คือ อุ๊ยหม่อน

ย่าทวด ภาษาเหนือ คือ อุ๊ยหม่อน

ตาทวด ภาษาเหนือ คือ อุ๊ยหม่อน

ยายทวด ภาษาเหนือ คือ อุ๊ยหม่อน

ทวด ภาษาเหนือ คือ หม่อน

พ่อตา ภาษาเหนือ คือ ป้อเมีย

แม่ยาย ภาษาเหนือ คือ แม่เมีย

พ่อผัว ภาษาเหนือ คือ ป้อผัว

แม่ผัว ภาษาเหนือ คือ แม่ผัว

พ่อเลี้ยง ภาษาเหนือ คือ ป้อน้า

แม่เลี้ยง ภาษาเหนือ คือ แม่น้า

ลุง ภาษาเหนือ คือ ลุง

ป้า ภาษาเหนือ คือ ป้า

น้า ภาษาเหนือ คือ น้า

อา ภาษาเหนือ คือ อา

ลูกชาย ภาษาเหนือ คือ ลูกบ่าว

ลูกสาว ภาษาเหนือ คือ ลูกสาว

ลูกเขย ภาษาเหนือ คือ ลูกจาย, ลูกเขย

ลูกสะใภ้ ภาษาเหนือ คือ ลูกญิง, ลูกไป๊

ลูกคนแรก ภาษาเหนือ คือ ลูกเก๊า

ลูกคนสุดท้อง ภาษาเหนือ คือ ลูกหล้า

เด็ก ภาษาเหนือ คือ ละอ่อน

ลูกเล็ก ๆ ภาษาเหนือ คือ ลูกหน้อย

ลูกเลี้ยง ภาษาเหนือ คือ ลูกเก๋บ, ลูกเลี้ยง

หลาน ภาษาเหนือ คือ หลาน

เหลน ภาษาเหนือ คือ เหลน

โหลน ภาษาเหนือ คือ หลืด

พี่ชาย ภาษาเหนือ คือ อ้าย

พี่สาว ภาษาเหนือ คือ ปี้,เอ้ย

พี่เขย ภาษาเหนือ คือ ปี้จาย, ปี้เขย

พี่สะไภ้ ภาษาเหนือ คือ ปี้ไป๊, ปี้ญิง

น้องชาย ภาษาเหนือ คือ น้องบ่าว

น้องสาว ภาษาเหนือ คือ น้องสาว

น้องเขย ภาษาเหนือ คือ น้องเขย

น้องสะไภ้ ภาษาเหนือ คือ น้องไป๊

น้องผัว ภาษาเหนือ คือ น้องผัว

น้องเมีย ภาษาเหนือ คือ น้องเมีย

สาวน้อย ภาษาเหนือ คือ สาวจี๋

หนุ่มน้อย ภาษาเหนือ คือ บ่าวน้อย

หนุ่มใหญ่ ภาษาเหนือ คือ บ่าวเฒ่า

สาวใหญ่ ภาษาเหนือ คือ สาวเฒ่า

หนุ่มขึ้นคาน, สาวขึ้นคาน ภาษาเหนือ คือ บ่าวเคิ้น, สาวเคิ้น

เพื่อน ภาษาเหนือ คือ เปื้อน

คำสรรพนาม ภาษาเหนือ

คำสรรพนามเป็นคำที่ใช้แทนคำนาม ซึ่งใช้เรียกตัวเอง ใช้เรียกผู้ที่กำลังฟังเราพูด รวมทั้งเรียกคนที่ถูกกล่าวถึง สำหรับภาษาเหนือก็มีคำเรียกที่แตกต่างจากภาษาพื้นถิ่นของภาคอื่น ๆ ดังนี้

เรา ภาษาเหนือ คือ เฮา
วิธีใช้ แทนได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย มีความหมายเช่นเดียวกับคำว่า “เรา”

พวกเรา ภาษาเหนือ คือ หมู่เฮา

ฉัน ภาษาเหนือ คือ เปิ้น
วิธีใช้ เปิ้น เป็นคำแทนตัวผู้หญิง ใช้กับผู้ฟังที่เป็นเพื่อนหรือผู้ที่สนิทสนมคุ้นเคย

ข้า ใช้แทนได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย ใช้คู่กับคำว่า สู
วิธีใช้ ข้า แทนได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย โดยมากผู้พูดจะเป็นผู้ใหญ่ใช้พูดกับคนวัยเดียวกัน รู้จักกันดี เช่น สามีภรรยาหรือเพื่อน

ข้าเจ้า เป็นคำแทนตัวที่สุภาพสำหรับผู้หญิง
วิธีใช้ ข้าเจ้า มักใช้ในกรณีที่ผู้พูดอายุน้อยกว่าผู้ฟังหรือมีความเคารพผู้ฟัง

กู ภาษาเหนือ คือ ฮา
วิธีใช้ ฮา เป็นคำแทนตัวผู้ชายใช้พูดกับเพื่อนสนิท ไม่ใช้พูดกับผู้ใหญ่หรือสุภาพสตรีเพราะถือว่าไม่สุภาพ (สำหรับคำแทนฝั่งผู้หญิงที่เป็นคำหยาบ ใช้คำว่า “กู” เหมือนภาคกลาง)

เธอ ภาษาเหนือ คือ ตั๋ว
วิธีใช้ “ตั๋ว” เป็นคำแทนตัวผู้ฟังที่เป็นผู้หญิง ใช้คู่กับคำว่า “เปิ้น” คำสรรพนาม “ตั๋ว – เปิ้น” มีความหมายเหมือน “ฉัน-เธอ”

สู ใช้แทนได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย ใช้คู่กับคำว่า ข้า

มึง ภาษาเหนือ คือ คิง
วิธีใช้ “คิง” ใช้แทนตัวผู้ฟังที่เป็นผู้ชาย ใช้คู่กับคำว่า “ฮา” (สำหรับคำแทนฝั่งผู้ฟังผู้หญิงที่เป็นคำหยาบ ใช้คำว่า “มึง” เหมือนภาคกลาง)

พวกแก, พวกเอ็ง ภาษาเหนือ คือ หมู่สู, สูเขา, คิงเขา(ใช้แทนกลุ่มเพื่อนๆผู้ชายทั้งหมด ใช้ในกลุ่มเพื่อนๆ)

คำสรรพนามของคนที่ถูกกล่าวถึง คำสรรพนามบุรุษที่ 3 มีดังนี้

เขา วิธีใช้ ใช้แทนผู้ที่พูดถึงที่เป็นพหูพจน์ ทั้งเพศหญิงและเพศชาย

มัน วิธีใช้ ใช้แทนผู้ที่พูดถึงที่เป็นเอกพจน์ ทั้งเพศหญิงและเพศชาย

เปิ้น วิธีใช้ ใช้แทนได้ทั้งเพศหญิงและชาย เอกพจน์หรือพหูพจน์ก็ได้

หมายเหตุ คำว่า “เปิ้น” เป็นได้ทั้งบุรุษที่ 1 และ 3 ดังตำอย่างต่อไปนี้

บุรุษที่ 1 ประโยคภาษาไทย  – ฉันจะไปดูหนัง เธอจะไปไหม

ประโยคภาษาเหนือเปิ้นจะไปดูหนัง ตั๋วจะไปก่อ

บุรุษที่ 2  ประโยคภาษาไทย – พวกเขามาจากไหน

ประโยคภาษาเหนือ –  เปิ้นลุกไหนมา

 

ประโยคภาษาไทย – แม่ ตำรวจเขามาทำไม

ประโยคภาษาเหนือ –  แม่ ตำรวจเปิ้นมาญ่ะหญัง