“คุ้มครองและส่งต่อ มรดกเชียงใหม่” Chiang Mai Heritage: Call to Action ในวันที่ 8-9 สิงหาคม 2562 ณ สำนักบริการวิชาการ (UNISERV) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ขอเชิญเข้าร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการ
“คุ้มครองและส่งต่อ มรดกเชียงใหม่”
Chiang Mai Heritage: Call to Action
อัตลักษณ์ทางประวัติศาสตร์วัฒนธรรมเป็นความภาคภูมิใจของผู้คนในแต่ละเมือง เป็นสิ่งที่คนในสังคมนั้นๆ ร่วมกันเป็นเจ้าของ ด้วยเหตุนี้ หน้าที่ในการดูแลรับผิดชอบ บริหารจัดการ ปกป้อง คุ้มครอง อนุรักษ์และฟื้นฟู จึงเป็นภาระหน้าที่ที่ประชาชนต้องมีส่วนร่วมอย่างทั่วถึงด้วย
สยามสมาคมในพระบรมราชูปถัมภ์ ร่วมกับ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และหอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่ จึงได้ร่วมกับจัดการการประชุมเชิงปฏิบัติการ “คุ้มครองและส่งต่อ มรดเชียงใหม่” เพื่อหาแนวทางการพัฒนาเครื่องมือ ระเบียบ กฎหมาย รวมทั้งกลไกต่างๆ เพื่อขับเคลื่อนการอนุรักษ์ทุนประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมอย่างมีประสิทธิภาพ และพัฒนาทุนที่มีอยู่อย่างสร้างสรรค์เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชนสำหรับปัจจุบันและอนาคต
การประชุมครั้งนี้จัดขึ้นโดยมีกรณีศึกษา
• ข่วงหลวงเวียงแก้ว : ความพยายามของประชาชนในการเข้ามีส่วนในการจัดการมรดกประวัติศาสตร์วัฒนธรรมเพื่ออนาคตของเมือง
• การพัฒนาที่ดินวัดร้าง และที่ดินของรัฐในเมืองเก่า เพื่อประโยชน์ในด้านการรักษาคุณค่าภูมิสถาปัตย์ของเมือง คุณค่าประวัติศาสตร์ของพื้นที่ และคุณภาพชีวิตของคนในท้องถิ่น
• การอนุรักษ์เฮือนโบราณ (กรณีศึกษาเฮือนโบราณสันป่าตอง)
ทั้งนี้ในการประชุมจะมีผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายสิทธิชุมชน มรดกวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม นักวิชาการผังเมือง และผู้เชี่ยวชาญจากภาคส่วนต่างๆ เข้าร่วมแลกเปลี่ยนความรู้ เรียนเชิญผู้สนใจเข้าร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการ “คุ้มครอง ส่งต่อ มรดกเชียงใหม่” ในวันที่ 8-9 สิงหาคม 2562 ณ สำนักบริการวิชาการ (UNISERV) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
#ลงทะเบียนเข้าร่วมได้ที่
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0 5321 7793
.
.
#กำหนดการ
วันพฤหัสบดีที่ 8 สิงหาคม 2562
(09:00 น.)
ลงทะเบียน
(09:30 น.)
กล่าวต้อนรับโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พรชัย วิสุทธิศักดิ์
คณบดี คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
(10:00 น.)
“กฎหมายกับงานบริหารจัดการทรัพยากรทางวัฒนธรรม” ช่วงที่ 1 โดย
– ดร.พงษ์สวัสดิ์ อักษรสวาสดิ์ ผู้เชี่ยวชาญกฎหมายสิทธิชุมชน มรดกวัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อม
– ดร. ยงธนิศร์ พิมลเสถียร นักวิชาการ คณะสถาปัตยกรรมและผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
– ดร. ปีดิเทพ อยู่ยืนยง อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
(11:30 น.)
“กฎหมายกับงานบริหารจัดการทรัพยากรทางวัฒนธรรม” ช่วงที่ 2 โดย
– คุณมาลีภรณ์ คุ้มเกษม ผู้อำนวยการกลุ่มนิติการ กรมศิลปากร
– คุณอารีย์ พันธุ์จันทร์ นักวิชาการศาสนาชำนาญการพิเศษ สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ
– คุณทัศนัย บูรณุปกรณ์ นายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่
ดำเนินรายการโดย คุณสุวารี วงศ์กองแก้ว ผู้อำนวยการหอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่
(12:00 น.)
รับประทานอาหารกลางวัน
(13:00 น.)
ชี้แจงวิธีการดำเนินการประชุมเชิงปฏิบัติการ โดย คุณกนิษฐา กสิณอุบล กรรมการผู้จัดการสยามสมาคมในพระบรมราชูปถัมภ์
(13:30 น.)
แนะนำหัวข้อการประชุม 3 หัวข้อย่อย ได้แก่ คุ้มเวียงแก้ว วัดร้าง และเรือนโบราณ
โดย รองศาสตราจารย์ ดร. วรลัญจก์ บุณยสุรัตน์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และคุณเจมส์ สเต็นท์ ประธานคณะกรรมการพิทักษ์มรดกสยาม สยามสมาคมฯ
(14:00–14:30 น.)
พักรับประทานอาหารว่าง
(14:30–16:30 น.)
แบ่งกลุ่มประชุมเชิงปฏิบัติการ
ประชุมกลุ่มช่วงที่ 1 – ร่วมกันระบุปัญหาและอุปสรรค ผู้มีส่วนได้เสียและแรงจูงใจ
• กลุ่ม 1 ข่วงหลวงเวียงแก้ว: ประชาชนกับการมีส่วนร่วมจัดการมรดกประวัติศาสตร์วัฒนธรรมเพื่ออนาคตของเมือง
ผู้ดำเนินการประชุม ดร.ยงธนิศร์ พิมลเสถียร
• กลุ่ม 2 การพัฒนาที่ดินวัดร้าง ในเมืองเก่า เพื่อประโยชน์ในด้านการรักษาคุณค่าภูมิสถาปัตย์คุณค่าทางประวัติศาสตร์ของพื้นที่ และคุณภาพชีวิตของคนในท้องถิ่น
ผู้ดำเนินการประชุม คุณสุดารา สุจฉายา
กรรมการพิทักษ์มรดกสยาม สยามสมาคมฯ
• กลุ่ม 3 การอนุรักษ์เฮือนโบราณ
ผู้ดำเนินการประชุม คุณธิตินัดดา จินาจันทร์
นักวิจัยกลุ่มล้านนาคดี สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
.
.
.
วันศุกร์ที่ 9 สิงหาคม 2562
(09:00 น.)
ลงทะเบียน
(09:30–11:00 น.)
ประชุมกลุ่มช่วงที่ 2 – ข้อเสนอในการแก้ปัญหา
(11:00–12:00 น.)
สรุปข้อมติจากที่ประชุมเชิงปฏิบัติการ
(12:30 น.)
กล่าวปิดการประชุมโดย คุณพิกุลแก้ว ไกรฤกษ์ นายกสยามสมาคมฯ
(13:00 น.)
รับประทานอาหารกลางวัน
จบรายการ