ซอ พื้นเมืองล้านนา

0
2364

ซอ พื้นเมืองล้านนา การละเล่นพื้นบ้านล้านนา

ซอพื้นเมืองล้านนา หรือที่ชาวพื้นเมืองล้านนาเรียกว่า ซอ (มักเรียกประกอบกันเป็น สะล้อ ซอ ซึง) เป็นรูปแบบการร้องเพลงที่ชาวพื้นเมืองล้านนาใช้ขับกล่อมให้คลายทุกข์ การละเล่นพื้นบ้านล้านนา โดยจะมีคำเรียกผู้ร้องเพลงซอว่า ช่างซอ หรือคำเมืองเรียก จ้างซอ

สารบัญ ซ่อน
ซอ พื้นเมืองล้านนา การละเล่นพื้นบ้านล้านนา

ซอ

ซอ หมายถึง การร้องหรือการขับร้องเพลงพื้นบ้าน ของล้านนา เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ซอพื้นเมือง เป็นเพลง พื้นบ้านอย่างหนึ่งของชาวล้านนาไทยในเขต ๘ จังหวัด ภาคเหนือ และบางส่วนของจังหวัดสุโขทัย อุตรดิตถ์ และ ตาก การซอมีทั้งการโต้ตอบกันในลักษณะบทเกี้ยวพาราสี ระหว่างชายหญิง หรือซอเดี่ยวเพื่อเล่าเรื่อง พรรณนา เหตุการณ์ มีเครื่องดนตรีพื้นบ้านบรรเลงประกอบ

ผู้ขับเพลงซอ หรือ ช่างซอ

ผู้ขับเพลงซอ หรือที่เรียกตามภาษาท้องถิ่นว่า “ช่างซอ” ที่ร้องโต้ตอบกันเรียกว่า “คู่ถ้อง” ช่างซอที่เป็น คู่ถ้องต้องเป็นผู้มีปฏิภาณไหวพริบดีและได้รับการฝึกฝน จนชำนาญ เพราะต้องโต้ตอบกับอีกฝ่ายอย่างทันท่วงที ต้องมีความรู้รอบตัวและมีความจำดี เพราะสามารถนำสิ่ง รอบข้างมาใช้ในการซอได้ นอกจากนี้ต้องจำทำนองของ เพลงซอได้อย่างขึ้นใจ

การขับซอในปัจจุบัน จะมีลีลาและรูปแบบที่เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย การซอมีทั้งขับร้องเดี่ยวและคู่ ซึ่งเรียกว่า “คู่ถ้อง” สลับด้วยดนตรี คือ ปี่ชุม 3 ปี่ชุม 4 หรือปี่ชุม 5 (ภาษาพื้นเมืองจะออกเสียงว่า ปี่จุม) ที่นิยมกันมาแต่โบราณ

เนื้อร้องของซอเป็นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าขึ้นอยู่ กับสถานการณ์และโอกาสที่ไปแสดง เช่น ถ้าไปแสดง ในงานบวชนาค ช่างซอก็จะร้องเพลงซอพรรณนาเกี่ยวกับ การตอบแทนพระคุณพ่อแม่

ทำนองหรือระบำของซอ

ทำนองซอมีอยู่หลายทำนอง ซึ่งจะเรียกว่า “ทางซอ” เพราะมีการเพี้ยนหรือหลีกกันเพียงเล็กน้อย แต่ละทางไม่แตกต่างกันมาก คนที่เริ่มฟังซอใหม่ อาจจะไม่สามารถจับได้ว่า ซอมีทางแตกต่างกันหลายทางอย่างไร

ดังได้กล่าวมาข้างต้น ซอ หมายถึง การขับขานร้อยกรองที่มีการบังคับฉันทลักษณ์เฉพาะโดยมีท่วงทำนอง โดยทำนองต่าง ๆ มีทั้งหมด 12 ทำนอง ได้แก่

1.ทำนองซอ ตั้งเชียงใหม่ (อ่านว่า ตั้ง เจียงใหม่)
2.ทำนอง จาวปู หรือ จะปุ๋
3.ทำนอง ละม้าย
4.ทำนอง เงี้ยว หรือเสเลเมา
5.ทำนอง เพลงอื่อ
6.ทำนอง พม่า
7.ทำนอง พระลอ
8.ทำนอง มะเก่ากลาง (อ่านว่า “บะเก่ากล๋าง”)
9.ทำนอง เจียงแสน
10.ทำนองปั่นฝ้าย
11.ทำนองล่องม่าน
12.ทำนองยิ้น

ซึ่งทำนองซอทั้ง 12 ทำนอง ดังกล่าวนี้ บางทำนองแต่ละท้องถื่นเรียกชื่อต่างกันไป เช่น ทำนองพม่าทางจังหวัดน่านเรียกชื่อว่าทำนองเจ้าสุวัตร-นางบัวคำ เป็นต้น นอกจากนั้นยังมีทำนองปลีกย่อยของแต่ละท้องถิ่น ซึ่งใช้ซอในแวดลงของพื้นถื่นนั้นๆ เช่น ทำนองลับแล ทำนองดาดแพร่ จะมีการซอในแถบจังหวัดน่าน จังหวัดแพร่

เพลงซอ หรือทำนองซอล้านนา แบ่งตามเขต วัฒนธรรมได้เป็น ๒ เขต คือ

– เขตล้านนาตะวันตก ได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย ลำปาง ลำพูน ซอหรือขับซอเข้ากับ ปี่หรือวงปี่จุม คือ มีปี่เป็นหลักในการบรรเลงประกอบ เรียกโดยรวมว่า ซอเชียงใหม่ ซอเชียงใหม่มีทำนองซอหลักๆ ๗ ทำนอง คือ ตั้งเชียงใหม่ จะปุ ละม้าย เงี้ยว พม่า อื่อ และพระลอ หรือ ล่องน่าน

– ล้านนาตะวันออก ได้แก่ น่าน แพร่ เชียงราย (บางส่วน) และพะเยา ขับซอเข้ากับ สะล้อและปิน (ซึง) เรียกโดยรวมว่า ซอน่าน ส่วนซอน่านมีทำนองซอหลักๆ คือ ซอล่องน่าน ลับแลง ดาดแพร่ และปั่นฝ้าย

การขับซอเชียงใหม่จะเร็วกว่า การขับซอน่าน ขั้นตอนการแสดงซอเริ่มด้วยพิธีไหว้ครู โหมโรง เกริ่น เข้าสู่เนื้อหา และบทลา

ประวัติซอ

การขับซอได้มีพัฒนาการมาตลอดตามยุคสมัย เช่น ในสมัยพระราชชายาเจ้าดารารัศมีในพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นผู้ริเริ่มละครซอขึ้นใน จังหวัดเชียงใหม่ และในปี พ.ศ. ๒๕๐๘ เกิดซอสตริง หรือซอร่วมสมัย ซึ่งนำทำนองซอบางทำนองมาประยุกต์ กับดนตรีสากล

ซอ มีประวัติความเป็นมาที่ยาวนาน เป็นเอกลักษณ์ ทางวัฒนธรรมที่สำคัญและโดดเด่นยิ่งของชาวล้านนา มีความสัมพันธ์กับวิถีชีวิตความเป็นอยู่ เป็นกระจกเงา สะท้อนวิถีการดำรงชีวิตของชาวล้านนาในด้านต่างๆ เช่น ความเชื่อ ค่านิยม ขนบธรรมเนียมประเพณี สถาบันศาสนา สถาบันครอบครัว การประกอบอาชีพ อาหารและ โภชนาการ การแต่งกาย นอกจากนี้ยังมีความงดงาม ของภาษาคำเมือง หรือภาษาถิ่นเหนือ จึงเป็นภูมิปัญญาทาง ภาษาที่บรรพบุรุษได้สร้างสรรค์ไว้อย่างงดงามทรงคุณค่า น่าภูมิใจยิ่ง

จุดกำเนิดของซอมีความเป็นมาอย่างไรนั้นไม่มีหลักฐานปรากฏแน่ชัดแต่ก็มีการสันนิษฐานกันว่าคงเดินทางผ่านกาลเวลามาเนิ่นนานพอสมควรดังเช่นที่ มาลา คำจันทร์ นักเขียนระดับรางวัลซีไรท์ที่ในวันนี้เขาเลือกให้คำจำกัดความตัวเองว่า ครูใหญ่แห่งโฮงเฮียนสืบสานภูมิปัญญาล้านนา ซอไม่สามารถระบุต้นกำเนิดได้ แต่ก็มีช่างซอ(ภาษาเหนือเรียกจั้งซอ)บางคนที่อ้างถึงยุคหนึ่งในเมืองน่านครั้งที่ชาวเมืองน่านอพยพกันมาจากเมืองปัว แล้วต้องล่องน้ำน่านมาโดยใช้เวลานาน ก็เลยมีการร้องบทซอล้อเลียนกันจนปรับให้เข้าที่เข้าทางก็กลายมาเป็น “ซอล่องน่าน”

การแสดงซอ ในปัจจุบัน

เนื่องจากการซอนั้น ต้องใช้เวลาในการฝึกฝนยาวนานบวกกับพรสวรรค์และความตั้งใจจริง คุณแม่ผ่องศรี ศิลปินล้านนาแห่งเมืองเจียงใหม่ ได้พูดถึงซอพื้นเมืองในปัจจุบัน

แม่บุญศรี ซึ่งเริ่มหัดซอมาตั้งแต่อายุ 17 ได้ชี้ให้เห็นปัญหาของช่างซอในปัจจุบันว่า หลังจากที่เศรษฐกิจซบเซา งานแสดงซอก็ลดน้อยลงไปด้วย นานๆจึงจะมีคนมาจ้างสักครั้งหนึ่ง แต่ก็จะพยายามประคองไว้เพราะยังมีลูกน้องอีกหลายสิบคน เมื่อไม่มีงานพวกเขาเล่านั้นจะอยู่อย่างไร แต่เมื่อเทียบกับหลายปีก่อนนั้น เดือนหนึ่งแทบจะไม่มีวันหยุดเลยบางทีเดือนหนึ่งจะได้หยุด แค่วันเดียว บางครั้งงานมากจนไม่มีเวลากลับบ้านต้องตระเวนไปแสดงตามจังหวัด ต่างๆ ทั่วภาคเหนือ

ปัจจุบันการขับซอไม่ค่อยได้รับความสนใจเท่าที่ควร เนื่องจากกระแสดนตรีสมัยใหม่และละครโทรทัศน์ที่เข้าไป มีบทบาทในวิถีชีวิตของผู้คนมากขึ้น จนทำให้การขับซอ ที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตค่อยๆ จางหายไปเช่นเดียวกับเพลง พื้นบ้านอื่นๆ ที่มีอยู่ในประเทศไทย ตัวอย่างผู้ที่มีความ สามารถโดดเด่นในการขับซอล้านนา ได้แก่ แม่ครูจันทร์สม สายธารา ศิลปินแห่งชาติ พ่อครูคำผาย นุปิง ศิลปินแห่งชาติ แม่ครูบัวซอน ถนอมบุญ เก๋า-ต่วม นายสุรินทร์ หน่อคำนางสุจิตรา คำขัติย์  พ่อครูบุญศรี รัตนัง ฯลฯ

อย่างไรก็ตามทิศทางการอนุรักษ์ซอพื้นเมืองในปัจจุบันถูกกระแสของดนตรีสมัยใหม่และละครโทรทัศน์เข้ามาบดบังจนทำให้ซอพื้นเมืองอันเป็นศิลปะทรงคุณค่าเก่าแก่ของล้านนา กำลังถูกลบเลือนไปจากความทรงจำของคนในปัจจุบัน คุณค่าและความสำคัญของซอพื้นเมืองที่เคยมีมาในอดีต หากไม่ได้รับการอนุรักษ์รักษาและถ่ายทอดไปสู่คนรุ่นใหม่แล้ว บางทีซอพื้นเมืองอาจจะหลงเหลืออยู่เพียงแค่ในเทปคาสเซทก็เป็นได้

รายชื่อเพลงซอพื้นเมืองล้านนา

ซอคนเฒ่าขี้เหล้า
ซอสังขาราธรรม
ซอดาปอย ลาปอย
ซอผัวเมียแบ่งทรัพย์
ซอบ่าวมุ่นแม่ฮ้าง
ซอจุ๊สาวน้อยคนงาม
ซอปักซั้งตั้งกิน
ซอเกี้ยวสาวจอมทอง
ซอเงี้ยวเกี้ยวสาว
ซอหงษ์เหิน
ซอผัวเมียแบ่งทรัพย์
ซอเงี้ยวเกี้ยวสาว
ซอเกี้ยวสาวจอมทอง
ซอเกี้ยวสาวป่าเมี่ยง
ซอเกี้ยวสาวสองแคว
ซอเกี้ยวสาวเมืองสอง
ซอเกี้ยวสาวพม่า
ซอมหาชาติ
กัณฑ์
ซองไว้อาลัยกษัตริย์เจ้า
ซอสังขาราธรรม
ซอปั๋นปอ

ฟังเพลงซอ

ซอโต้วาทีสมัยเก่า-สมัยใหม่ พ่อครูก๋วนดา-แม่ครูแสงเอ้ย

ซอปี๋ใหม่เมือง โดย บุญศรี รัตนังและแสงเอ๋ย ป่าดำ

ซอ เก๋า ต่วม ปอยเป๊กตุ็ ต้นฉบับสมบูรณ์ 6 ก.ค.2538

ซอวัดห้วยแก้ว​ อ.สันทราย​ เชียงใหม่​ ปอยหลวงเจดีย์ธาตุ​ ตอนที่1​ -​ จั๋นติ๊บ​&พรรณี​ 5/2/65

ซอม่วนๆตอน1 ประเพณีเดือน5เป็ง วัดบ้านบอม สิงห์คำ-แจ่มจันทร์

ซอเมืองเหนือ โดย ธวัช เมืองเถิน 1

ซอพื้นเมือง จั๋นติ๊บ จอมตอง&พรรณี แม่แตง – งานกฐินวัดบ้านทัพ อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่ 13/11/64