ตำบลบ้านหลวง อำเภอแม่อาย
“หลวงพ่อเพชรศูนย์รวมใจ เห็ดหอมไทยก้าวหน้า
ลือทั่วหล้าป่าหลวง ธรรมชาติที่แหนหวงน้ำตกแม่วังน้อย”
ข้อมูลพื้นฐานตำบลบ้านหลวง อำเภอแม่อาย และสภาพทั่วไป
สภาพทั่วไปตำบลบ้านหลวง อำเภอแม่อาย
ตำบลบ้านหลวงเป็นตำบลที่เกิดขึ้นใหม่ของอำเภอแม่อาย ซึ่งได้แยกมาจากตำบลสันต้นหมื้อ เมื่อปี พ.ศ.2523 เป็นตำบลเล็กๆ ที่มีสภาพทางกายภาพเป็นภูเขาและที่ราบลุ่มเหมาะแก่การทำนา มีป่าไม้อุดมสมบูรณ์เป็นต้นกำเนิดของลำน้ำ 2 สายคือ 1. ห้วยแม่นาวาง 2. ลำห้วยแม่วังน้อย ทำให้มีน้ำใช้ ทำการเกษตรตลอดทั้งปี ประสิทธิภาพในการทำเกษตรกรรม สามารถทำนาได้ปีละ 2 ครั้ง ประชากรส่วนใหญ่มีอาชีพทำการเกษตรตำบลบ้านหลวงอยู่ห่างจากอำเภอแม่อาย ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ซึ่งเดินทางโดยรถยนต์ ประมาณ 17 กิโลเมตร (จัดตั้ง ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล ณ วันที่ 16 ธันวาคม 2539 ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 113 ตอนพิเศษ 52 ง หน้า 65 )
ลักษณะที่ตั้ง
ทิศเหนือ ติดต่อกับ ตำบลสันต้นหมื้อและตำบลแม่นาวาง อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่
ทิศใต้ ติดต่อกับตำบลเวียง อำเภอฝาง และ อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ตำบลวาวี อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ตำบลสันต้นหมื้อ อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่และตำบลเวียง อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่
เนื้อที่
ตำบลบ้านหลวง มีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 150.70 ตารางกิโลเมตร หรือ 72,818.75 ไร่
สารบัญ
หมู่ที่ 1 บ้านหลวง ตำบลบ้านหลวง อำเภอแม่อาย
หมู่ที่ 2 บ้านป่าแดด ตำบลบ้านหลวง อำเภอแม่อาย
หมู่ที่ 3 บ้านสันห้าง ตำบลบ้านหลวง อำเภอแม่อาย
หมู่ที่ 4 บ้านป่าก๊อ ตำบลบ้านหลวง อำเภอแม่อาย
หมู่ที่ 5 บ้านป่าแดง ตำบลบ้านหลวง อำเภอแม่อาย
หมู่ที่ 6 บ้านใหม่โพธิ์งาม ตำบลบ้านหลวง อำเภอแม่อาย
หมู่ที 7 บ้านจัดสรร ตำบลบ้านหลวง อำเภอแม่อาย
หมู่ที่ 8 บ้านใหม่ทรายคำ ตำบลบ้านหลวง อำเภอแม่อาย
หมู่ที่ 9 บ้านป่าแดงอภิวัฒน์ ตำบลบ้านหลวง อำเภอแม่อาย
หมู่ที่ 10 บ้านโปงพัฒนา ตำบลบ้านหลวง อำเภอแม่อาย
การปกครอง
องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านหลวงแบ่งเขตการปกครองเป็น 10 หมู่บ้านดังนี้
หมู่ที่ 1 บ้านหลวง ผู้ใหญ่บ้าน นายสุชัย รินทร
หมู่ที่ 2 บ้านป่าแดด ผู้ใหญ่บ้าน นายพิภพ ผิวชัย
หมู่ที่ 3 บ้านสันห้าง ผู้ใหญ่บ้าน นายจะโพ จะอื่อ
หมู่ที่ 4 บ้านป่าก๊อ กำนัน นายเรวัฒน์ คำปวน
หมู่ที่ 5 บ้านป่าแดง ผู้ใหญ่บ้าน นายบุญเรือง บรรณศาสตร์
หมู่ที่ 6 บ้านใหม่โพธิ์งาม ผู้ใหญ่บ้าน นางวิลาสินี นวลแก้ว
หมู่ที 7 บ้านจัดสรร ผู้ใหญ่บ้าน นายเจนวิทย์ ซื่อต่อวงษ์
หมู่ที่ 8 บ้านใหม่ทรายคำ ผู้ใหญ่บ้าน นายอรรถพล เปลี่ยนทรัพย์
หมู่ที่ 9 บ้านป่าแดงอภิวัฒน์ ผู้ใหญ่บ้าน นายสายันต์ สุภาคำ
หมู่ที่ 10 บ้านโปงพัฒนา ผู้ใหญ่บ้าน นายสิงห์ จันจีรัสถ์
ข้อมูลประชากร
หมู่ที่ 1 | จำนวนประชากร | จำนวนครัวเรือน | ||
ชาย | หญิง | รวม | ||
หมู่ที่ 1 บ้านหลวง | 314 | 315 | 629 | 247 |
หมู่ที่ 2 บ้านป่าแดด | 288 | 309 | 597 | 216 |
หมู่ที่ 3 บ้านสันห้าง | 892 | 818 | 1,710 | 851 |
หมู่ที่ 4 บ้านป่าก๊อ | 121 | 123 | 244 | 102 |
หมู่ที่ 5 บ้านป่าแดง | 318 | 334 | 652 | 528 |
หมู่ที่ 6 บ้านใหม่โพธิ์งาม | 116 | 111 | 227 | 96 |
หมู่ที่ 7 บ้านจัดสรร | 290 | 296 | 586 | 182 |
หมู่ที่ บ้านใหม่ทรายคำ | 155 | 163 | 318 | 145 |
หมู่ที่ 9 บ้านป่าแดงอภิวัฒน์ | 569 | 538 | 1,107 | 365 |
หมู่ที่ 10 บ้านโปงพัฒนา | 850 | 790 | 1,640 | 408 |
รวม | 3,913 | 3,797 | 7,710 | 3,140 |
ข้อมูลจากอำเภอแม่อาย ณ พฤษภาคม 2561
ลักษณะภูมิประเทศ
มีสภาพทางกายภาพเป็นภูเขาสลับที่ราบ แบ่งเป็น
พื้นที่ป่าไม้ที่อยู่ในเขต ป่าลุ่มน้ำแม่ฝาง เป็นเขตป่าสงวนแห่งชาติ ประมาณ 29,375 ไร่ (47 ตร.กม.) คิดเป็น 40.34%ของพื้นที่ทั้งหมด
พื้นที่ทำการเกษตรประมาณ 22,187.75ไร่(35.50 ตร.กม.)(30.46 %) ของพื้นที่ทั้งหมด
– แบ่งเป็นพื้นที่นา 6,641 ไร่ (29.93 % ของพื้นที่การเกษตร)
– แบ่งเป็นพื้นสภาพไร่ 2,540 ไร่ (11.44 % ของพื้นที่การเกษตร)
– แบ่งเป็นพื้นสวนผลไม้ 2,631 ไร่ (11.85 % ของพื้นที่การเกษตร)
– ที่ดินสาธารณะประโยชน์ 24 แห่ง มีจำนวนทั้งหมด 261.75 ไร่ (1.20% ของพื้นที่การเกษตร)
– พื้นที่อยู่อาศัยประมาณ 10,114 ไร่ (34 ตร.กม.) 45.58 % ของพื้นที่การเกษตรพื้นที่ทำ
ประโยชน์อื่นๆ เช่น ห้วย หนอง คลอง บึง อ่างเก็บน้ำ ฝายฯลฯ ประมาณ 21,256 ไร่
(34 ตร.กม.) คิดเป็น 29.19 %ของพื้นที่ทั้งหมด
ลักษณะภูมิอากาศ
ลักษณะทางภูมิอากาศโดยทั่วไปของตำบลบ้านหลวง เป็นเขตร้อนชื้น มีลมมรสุม ภูมิอากาศ มี 3 ฤดู คือฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่ มีนาคม-พฤษภาคม, ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่ มิถุนายน-ตุลาคม,ฤดูหนาวเริ่มตั้งแต่ ตุลาคม-กุมภาพันธ์
อุณหภูมิ : มีอุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปี 23.8 องศาเซลเซียส โดยมีอุณหภูมิสูงสุดในเดือนเมษายน ประมาณ 30.0 องศาเซลเซียส และต่ำสุดในเดือนมกราคม ประมาณ 22 .1 องศาเซลเซียส
ปริมาณน้ำ : มีฝนรวมตลอดปี 1,089.3 มิลลิเมตร โดยมีปริมาณน้ำฝนสูงสุดในเดือนพฤษภาคมประมาณ 392.8 มิลลิเมตร และต่ำสุดในช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม ประมาณ 0.0 มิลลิเมตร
สภาพสังคม
การศึกษา
องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านหลวง มีโรงเรียนในพื้นที่ จำนวน 3 แห่ง ได้แก่
- โรงเรียนบ้านหลวง เปิดการสอนตั้งแต่ระดับอนุบาลถึงประถมศึกษาปีที่ 1 – 6 ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 1 บ้านหลวง
- โรงเรียนบ้านป่าก๊อ เปิดการสอนตั้งแต่ระดับอนุบาลถึงมัธยมศึกษาปีที่ 3 ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 4 บ้านป่าก๊อ
- โรงเรียนบ้านป่าแดง เปิดการสอนตั้งแต่ระดับอนุบาลถึงมัธยมศึกษาปีที่ 3 ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 5 บ้านป่าแดง
– ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านหลวง จำนวน 3 แห่ง
– ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน ตำบลบ้านหลวง (กศน.) จำนวน 1 แห่ง
สถาบันและองค์กรทางศาสนา
ประชากรตำบลบ้านหลวง ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ คิดเป็นร้อยละ 75 ศาสนาคริสคิดเป็นร้อยละ 25
ตำบลบ้านหลวง มีวัดและสำนักสงฆ์ จำนวน 9 แห่ง ดังนี้
- วัดวัฒนาราม (บ้านหลวง) สถานที่ตั้ง หมู่ที่ 1 บ้านหลวง
- วัดสว่างไพบูลย์ (ป่าแดด) สถานที่ตั้ง หมู่ที่ 2 บ้านป่าแดด
- วัดบ้านสันห้าง สถานที่ตั้ง หมู่ที่ 3 บ้านสันห้าง
- วัดศรีสองเมือง (ป่าก๊อ) สถานที่ตั้ง หมู่ที่ 4 บ้านป่าก๊อ
- วัดอุดมไพรสนฑ์ (ป่าแดง) สถานที่ตั้ง หมู่ที่ 5 บ้านป่าแดง
- วัดบ้านใหม่โพธิ์งาม สถานที่ตั้ง หมู่ที่ 6 บ้านโพธิ์งาม
- สำนักสงฆ์ใหม่สันติสุข สถานที่ตั้ง หมู่ที่ 7 บ้านจัดสรร
- สำนักสงฆ์ดงป่าลัน สถานที่ตั้ง หมู่ที่ 7 บ้านจัดสรร
- สำนักสงฆ์บ้านไร่ สถานที่ตั้ง หมู่ที่ 1 บ้านหลวง
- สำนักสงฆ์อรัญญาภิวัฒน์ สถานที่ตั้ง หมู่ที่ 9 บ้านป่าแดงอภิวัฒน์
โบสถ์คริสต์ จำนวน 5 แห่ง
ประเพณีที่สำคัญของตำบลบ้านหลวงที่ถือเป็นประเพณีพื้นถิ่นที่ดำเนินการจัดกิจกรรมเป็นประจำทุกปีได้แก่
- งานประเพณีกินวอ ตรงกับเดือนมกราคมของทุกปี
- งานประเพณีกินข้าวใหม่ ตรงกับเดือนพฤศจิกายนของทุกปี
- งานประเพณี ปีใหม่ไข่แดง ตรงกับเดือนเมษายนของทุกปี
- งานวันสงกรานต์และวันผู้สูงอายุ ตรงกับเดือนเมษายนของทุกปี
- งานประเพณีสรงน้ำหลวงพ่อเพชร ตรงกับวันที่ 16 เมษายนของทุกปี
- งานประเพณีสรงน้ำพระธาตุน้ำค้าง ตรงกับเดือนมิถุนายนของทุกปี
- งานสรงน้ำพระพุทธรูปบริเวณป่าอนุรักษ์ ตรงกับเดือนมิถุนายนของทุกปี
- งานประเพณี โล้ชิงช้าชาวอาข่า ตรงกับเดือนสิงหาคมของทุกปี
- งานประเพณีสลากภัตร ตรงกับเดือนตุลาคมถึงพฤศจิกายน
- งานวันลอยกระทง ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 12ของทุกปี
การสาธารณสุข
ตำบลบ้านหลวง มีศูนย์บริการสาธารณสุข จำนวน 2 แห่ง ที่มุ่งเน้นให้บริการด้านการส่งเสริมสุขภาพอนามัย การสร้างภูมิคุ้มกันโรค การป้องกันโรค การระงับโรคติดต่อ และการวางแผนครอบครับ ดังนี้
- โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหลวง เป็นสถานพยาบาลขนาด 4 เตียงตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 1 บ้านหลวงมีพื้นที่ให้บริหาร 5 หมู่บ้านได้แก่ หมู่ที่ 1 หมู่ที 3 หมู่ที่ 4 หมู่ที่ 6 และหมู่ที่ 10
- โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านจัดสรร เป็นสถานพยาบาลขนาด4 เตียง ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 7 บ้านจัดสรร มีพื้นที่ให้บริหาร 5 หมู่บ้านได้แก่ หมู่ที่ 2 หมู่ที 5 หมู่ที่ 7 หมู่ที่ 8 และหมู่ที่ 9
ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
มีสายตรวจตำรวจ ชุมชนตำบลบ้านหลวง 1 แห่ง มีข้าราชการตำตรวจประจำ 3 นาย ตั้งอยู่ที่บ้านหมูที่ 7 บ้านจัดสรรด้านการเตรียมการป้องกันภัยขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านหลวง
– ชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน (ชรบ.) จำนวน 15 ชุด รวมทั้งสิ้น 150 คน
– อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน (อปพร.) จำนวน 10 ชุด รวมทั้งสิ้น 80 คน
– รถบรรทุกน้ำอเนกประสงค์ขนาด 6,000 ลิตร จำนวน 1 คัน
– รถกู้ชีพ กู้ภัย จำนวน 1 คัน
การบริการขั้นพื้นฐาน
การโทรคมนาคม
ตำบลบ้านหลวงมีระบบการติดต่อสื่อสารทางโทรศัพท์ครอบคลุมคิดเป็นร้อยละ 80 ของพื้นที่พื้นที่ที่ไม่มีสัญญาณได้แก่หมู่บ้านที่อยู่บนพื้นที่สูง ได้แก่ บ้านโปงพัฒนา,บ้านห้วยเกิด หมู่ที่ 10 บ้านโล๊ะป่าไคล้, บ้านห้วยมะเฟือง หมู่ที่ 3บ้านจะโต๊ะ หมู่ที่ 9
ระบบไฟฟ้า
พื้นที่ตำบลบ้านหลวงครัวเรือนมีไฟฟ้าใช้ครอบคลุมทุกพื้นที่ โดยแยกเป็น
- ใช้กระแสไฟฟ้าจากการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค คิดเป็นร้อยละ 94 ของจำนวนครัวเรือน
– ใช้กระแสไฟฟ้าจากระบบผลิตกระแสไฟฟ้าด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ คิดเป็นร้อยละ 6 ของจำนวนครัวเรือน ได้แก่บ้านจะโต๊ะ,บ้านจะจูสี หมู่ที่ 9 บ้านห้วยเกิด หมู่ที่ 10
ระบบประปา
ตำบลบ้านหลวงมีระบบประปาที่ให้บริการแก่ประชาชน อยู่สองระบบ คือ
- ระบบประหมู่บ้านโดยใช้น้ำผิวดินครอบคลุมหมู่บ้านในพื้นที่ราบ จำนวน 9 หมู่บ้าน
– ระบบประปาภูเขา ครอบคลุมหมู่บ้านที่อยู่บนพื้นที่สูง ได้แก่ บ้านโปงพัฒนาหมู่ที่ 10 ทั้งหมู่บ้าน หมู่ที่ 3 บางส่วนคือ บ้านโล๊ะป่าไคล้,บ้านห้วยมะเฟือง หมู่ที่ 9 บางส่วน ได้แก่ บ้านจะจูสี, บ้านห้วยน้ำโซ้,บ้านจะโต๊ะ
แหล่งทรัพยากรธรรมชาติ
ทรัพยากรธรรมชาติป่าไม้
ตำบลบ้านหลวงมีพื้นที่ทั้งสิ้น 72,818.75 ไร่ หรือ 116.50 ตารางกิโลเมตร อยู่ในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ป่าลุ่มน้ำแม่ฝาง แต่สภาพป่าส่วนใหญ่เป็นป่าที่มีความอุดมสมบูรณ์ เนื่องจากผืนป่าเป็นป่าไม้สัก, ไม้ประดู่ ,ไม้ตะแบก,ไม้ตะเคียน,ไม้รกฟ้า,ไม้เต็ง,ไม้รัง,ไม้เหียง และไม้ชนิดอื่นๆจึงได้ถูกกำหนดให้เป็นป่าสงวนแห่งชาติ เพื่อรักษาสภาพป่าไม้ต่างๆ และทรัพยากรธรรมชาติอื่นๆไว้ ตามประกาศกระทรวง ฉบับที่ 213 พ.ศ. 2510 ตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 โดยจุดเด่นของสภาพป่าในเขตรับผิดชอบตำบลบ้านหลวง เป็นป่าพลวงที่ใหญ่ที่สุดในภาคเหนือ มีพื้นที่ 47 ตร.กม.หรือ 29,375 ไร่ โดยสามารถสร้างรายได้ให้กับประชาชนตำบลบ้านหลวง ในการเก็บใบพลวงที่ร่วงจากต้นไปสานขายให้กับกลุ่มเกษตรกรที่ทำการปลูก สตอเบอรี่ ในต่างอำเภอ ซึ่งเป็นรายได้ทางหนึ่งของราษฎรส่วนใหญ่
ทรัพยากรน้ำ
– แม่น้ำ จำนวน 2 สาย ได้แก่ แม่น้ำแม่นาวาง, แม่น้ำวังน้อย
– ลำห้วย จำนวน 4 แห่ง ได้แก่ ลำห้วยเปียง , ลำห้วยน้ำโซ้,ลำห้วยโป่ง, ลำห้วย ฮ่องก๋าแก๊ด
– หนองน้ำ จำนวน 7 แห่ง – หนองป่าก๊อ, หนองสามขา , หนองก๊อดมะเกี๋ยง, หนองก๊อดเกี๊ยะงาม, หนองอึ่ง , หนองดงป่าลัน , หนองจอด้วน
แหล่งน้ำที่สร้างขึ้นเพื่อการอุปโภค และบริโภค
– สระน้ำ จำนวน 6 แห่ง
ที่ | รายการ | สถานที่ |
1 | สระน้ำบ้านใหม่ทรายคำ (สระน้ำขนาดเล็ก | หมู่ที่ 5 บ้านป่าแดง |
2 | สระน้ำบ้านจัดสรร (สระน้ำขนาดเล็ก) | หมู่ที่ 7 บ้านจัดสรร |
3 | สระน้ำ หน้าที่ทำการ (สระน้ำแบบขนาดเล็ก) | องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านหลวง |
4 | สระน้ำบ้านป่าแดงอภิวัฒน์ (สระน้ำขนาดเล็ก) | หมู่ที่ 9 บ้านป่าแดงอภิวัฒน์ |
5 | สระน้ำบ้านป่าแดงอภิวัฒน์ (สระน้ำขนาดเล็ก) | หมู่ที่ 9 บ้านป่าแดงอภิวัฒน์ (บ้านอาข่า) |
6 | สระน้ำบ้านโปงพัฒนา (สระน้ำขนาดเล็ก) | หมู่ที่ 10 บ้านโปงพัฒนา (บ้านสันติสุข) |
ฝายคอนกรีตเสริมเหล็ก จำนวน 13 แห่ง
ที่ | รายการ | สถานที่ |
1 | ฝายคอนกรีตเสริมเหล็ก(ฝายน้ำล้นแบบ มข.) | หมู่ที่ 1 บ้านหลวง |
2 | ฝายคอนกรีตเสริมเหล็ก(ฝายน้ำล้นแบบ มข.) | หมู่ที่ 2 บ้านป่าแดด |
3 | ฝายคอนกรีตเสริมเหล็ก(ฝายน้ำล้นแบบ มข.) | หมู่ที่ 2 บ้านป่าแดด |
4 | ฝายคอนกรีตเสริมเหล็ก(ฝายน้ำล้นทุ่งป่ากั้ง) | หมู่ที่ 3 บ้านสันห้าง |
5 | ฝายคอนกรีตเสริมเหล็ก(ฝายน้ำล้นก๊อดปราสาท) | หมู่ที่ 3 บ้านสันห้าง |
6 | ฝายคอนกรีตเสริมเหล็ก) | หมู่ที่ 6 บ้านใหม่โพธิ์งาม |
7 | ฝายคอนกรีตเสริมเหล็ก(ฝายน้ำล้น ป่าก๊อ) | หมู่ที่ 4 บ้านป่าก๊อ |
8 | ฝายคอนกรีตเสริมเหล็ก(ฝายน้ำล้นป่าแดง) | หมู่ที่ 5 บ้านป่าแดง |
9 | ฝายคอนกรีตเสริมเหล็ก(ฝายน้ำล้นเหมืองหลวง.) | หมู่ที่ 3 บ้านสันห้าง |
10 | ฝายคอนกรีตเสริมเหล็ก(ฝายน้ำล้น อบต.) | หมู่ที่ 1 บ้านหลวง |
11 | ฝายคอนกรีตเสริมเหล็ก(ฝายน้ำล้นแบบ มข.) | หมู่ที่ 3 บ้านสันห้าง |
12 | ฝายคอนกรีตเสริมเหล็ก(ฝายน้ำล้นทุ่งขมิ้น) | หมู่ที่ 4 บ้านป่าก๊อ |
13 | ฝายคอนกรีตเสริมเหล็ก(ฝายน้ำล้นป่าก๊อ) | หมู่ที่ 4 บ้านป่าก๊อ |
ถังเก็บน้ำคอนกรีตเสริมเหล็ก จำนวน 9 แห่ง
ที่ | รายการ | สถานที่ก่อสร้าง |
1 | ถังเก็บน้ำคอนกรีตเสริมเหล็ก (แบบ ฝ.33) | หมู่ที่ 3 บ้านสันห้าง |
2 | ถังเก็บน้ำคอนกรีตเสริมเหล็ก (แบบ ฝ.33) | หมู่ที่ 7 บ้านจัดสรร |
3 | ถังเก็บน้ำคอนกรีตเสริมเหล็ก (แบบ ฝ.33) | หมู่ที่ 6 บ้านใหม่โพธิ์งาม |
4 | ถังเก็บน้ำคอนกรีตเสริมเหล็ก (แบบ ฝ.33) | อบต. บ้านหลวง |
5 | ถังเก็บน้ำคอนกรีตเสริมเหล็ก (แบบ ฝ.33) | หมู่ที่ 10 บ้านโปงพัฒนา |
6 | ถังเก็บน้ำคอนกรีตเสริมเหล็ก (แบบ ฝ.33) | หมู่ที่ 3 บ้านสันห้าง(บ้านโล๊ะป่าไคร้) |
7 | ถังเก็บน้ำคอนกรีตเสริมเหล็ก (แบบ ฝ.33) | หมู่ที่ 9 บ้านป่าแดงอภิวัฒน์ |
8 | ถังเก็บน้ำคอนกรีตเสริมเหล็ก (แบบ ฝ.66) | หมู่ที่ 8 บ้านใหม่ทรายคำ |
9 | ถังเก็บน้ำคอนกรีตเสริมเหล็ก (แบบ ฝ.99) | หมู่ที่ 1 บ้านหลวง |
ข้อมูลพื้นที่รับน้ำของตำบลบ้านหลวง
ตำบลบ้านหลวงมีพื้นที่รับน้ำทั้งหมด จำนวน 6,627 ไร่ หรือมีพื้นที่รับน้ำโดยเฉลี่ย 35,405,000 ลบ.ม. โดยแยกเป็น
– พื้นที่รับน้ำแม่นาวาง จำนวน 3,971ไร่ หรือมีพื้นที่รับน้ำโดยเฉลี่ย 25,565,000 ลบ.ม.
– พื้นที่รับน้ำโล๊ะป่าไคร้+แม่วังน้อย จำนวน 2,656 ไร่ หรือมีพื้นที่รับน้ำโดยเฉลี่ย 9,840,000ลบ.ม.
ข้อมูสภาพทางเศรษฐกิจ
การประกอบอาชีพ
ราษฎรส่วนใหญ่มีฐานะยากจน ประกอบอาชีพทำการเกษตรกรรม เป็นหลัก ได้แก่ ทำนา ไร ทำสวน โดยมีอาชีพทำนาเป็นอาชีพหลัก บางหมู่บ้านบ้านสามารถปลูกข้าวได้ปีละ 2 ครั้ง และมีการปลูกพืชหมุนเวียนอื่น ๆ เช่น ถั่วเหลือง พืชผัก พืชไร่และไม้ผล เช่นส้มเขียวหวาน ลำไย ซึ่งเป็นลักษณะสวนผลไม้ส่วนใหญ่ เป็นกิจการการลงทุนของนักธุรกิจและบ้างส่วนประกอบอาชีพรับจ้างเป็นอาชีพรองส่วนเกษตรกรรมในท้องที่เป็นสวนเกษตรขนาดเล็ก มีการปลูก พืชอื่น เช่น ยางพารา เป็นพืชเศรษฐกิจรองจากการทำพืชเศรษฐกิจหลัก
สินค้าผลิตภัณฑ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น / สินค้าเศรษฐกิจ
ราษฎรส่วนใหญ่ ได้ประกอบการผลิตสินค้าภูมิปัญญาท้องถิ่นหรือสินค้าเศรษฐกิจเพื่อเป็นอาชีพเสริม อันได้แก่ การจักสารหมวกจากหญ้ากก,การเพาะเห็ดหอม หากมองถึงศักยภาพของชุมชนแล้วถือ เกษตรกรสามารถประกอบอาชีพทางการเกษตรได้ดี และให้ความร่วมมือกับทางราชการในงานด้านการส่งเสริมการเกษตรเป็นอย่างดี แต่การทำการเกษตรยังมีปัจจัยที่มีผลกระทบกับผลผลิตได้แก่ ขาดแคลนแหล่งน้ำที่เพียงพอในการทำเกษตรกรรม ปัญหาโรคระบาดในพื้นที่เกษตร เป็นต้น
ข้อมูลหมู่บ้าน ตำบลบ้านหลวง อำเภอแม่อาย
หมู่ที่ 1 บ้านหลวง ตำบลบ้านหลวง อำเภอแม่อาย
หมู่ที่ 2 บ้านป่าแดด ตำบลบ้านหลวง อำเภอแม่อาย
หมู่ที่ 3 บ้านสันห้าง ตำบลบ้านหลวง อำเภอแม่อาย
หมู่ที่ 4 บ้านป่าก๊อ ตำบลบ้านหลวง อำเภอแม่อาย
หมู่ที่ 5 บ้านป่าแดง ตำบลบ้านหลวง อำเภอแม่อาย
หมู่ที่ 6 บ้านใหม่โพธิ์งาม ตำบลบ้านหลวง อำเภอแม่อาย
หมู่ที 7 บ้านจัดสรร ตำบลบ้านหลวง อำเภอแม่อาย
หมู่ที่ 8 บ้านใหม่ทรายคำ ตำบลบ้านหลวง อำเภอแม่อาย
หมู่ที่ 9 บ้านป่าแดงอภิวัฒน์ ตำบลบ้านหลวง อำเภอแม่อาย
หมู่ที่ 10 บ้านโปงพัฒนา ตำบลบ้านหลวง อำเภอแม่อาย