ฟ้อน การแสดงพื้นบ้านภาคเหนือ การแสดงล้านนา
ฟ้อน คำว่าฟ้อน หมายถึงการแสดงออกด้วยท่าทางต่าง ๆ จะโดยธรรมชาติหรือปรุงแต่งไปแล้วก็ตาม ตรงกับคำว่า “ รำ “ ในภาษาถิ่นภาคกลาง ด้วยเหตุนี้ ภาษาถิ่นล้านนาจึงเรียกกระบวนรำชุดต่างๆ ทั้งหมดว่าฟ้อนมาตั้งแต่อดีต เช่น ฟ้อนแห่ครัวทาน ฟ้อนผี ฟ้อนม่าน ฟ้อนเงี้ยว ฯลฯ
การฟ้อน
การฟ้อน ของชาวล้านนาในอดีตประกอบไปด้วยลีลาท่าทางที่เลียนแบบหรือดัดแปลงแบบหรือ แปลงมาจากธรรมชาติ มักมีลักษณะเป็นศิลปะตามเผ่าพันธุ์โดยแท้จริง กล่าวคือเชื่องช้าแช่มช้อยสวยงาม ไม่มีลีลาท่ารำที่ซับซ้อนยุ่งยาก ไม่มีกฎเกณฑ์ข้อบังคับใด ๆ เป็นกระบวนท่าง่าย ๆสั้น ๆมักแสดงเป็นชุด ๆมีมากมายหลายรูปแบบ และขนานนามชุดการแสดงหรือกระบวนฟ้อนนั้นๆ ตามเชื้อชาติของผู้ฟ้อน ซึ่งเรียกตามภาษาถิ่นพื้นเมืองว่า ช่างฟ้อน ( อ่าน “ จ้างฟ้อน “ ) และหมายรวมกันไปหมดทั้งชายและหญิง ดังนั้น ตนม่านหรือชาวพม่าฟ้อน ก็จะเรียกการแสดงหรือการฟ้อนชุดนั้นว่า ฟ้อนม่าน คนไตหรือคนไทใหญ่หรือหรอคนเงี้ยว หรือฟ้อนไท ( อ่าน “ ไต ” แต่ไม่เรียก ฟ้อนไทใหญ่ ”
ครั้นบ้านเมืองเจริญขึ้น การคมนาคมติดต่อสื่อสารสะดวกสบายมากขึ้น ประชากรมีการศึกษาแพร่หลายมากขึ้นมีการติดต่อกับสยามประเทศมากขึ้น อิทธิพลของ “ รำไทย ” . ในราชสำนักสยาม ซึ่งมีระเบียบแบบแผนที่ดีกว่า สวยงามกว่าจึ่งเริ่มเข้ามาเกี่ยวพันกับการฟ้อนพื้นเมืองล้านนาเริ่มแปร เปลี่ยนไป กระบวนฟ้อนชุดต่างๆ ที่มีอยู่เดิมและมีประดิษฐ์ขึ้นใหม่จึงเริ่มผิดแผกแตกต่างกันออกไป
หลังปีพุทธศักราช ๒๔๕๖ เป็นต้นมา การฟ้อนในล้านนาเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น เหตุเป็นเพราะพระราชชายาเจ้าดารารัศมีฯได้กราบบังคมลาพระบาทสมเด็จพระมงกุฎ เกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๖กลับไปประทับ ณ นครเชียงใหม่ พร้อมกับเจ้าแก้วนวรัฐฯ ซึ่งเป็นเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ท่านสุดท้ายแห่งมณฑลพายัพ ( พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ยุบเลิกประเทศราชรวมเป็นมณฑลหนึ่งของประเทศสยาม เมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๓๖ ) ที่ขึ้นไปรับพระราชทานยศและตำแหน่งเป็น “ เจ้าแก้วนวรัฐประพันธอินทนันทพงษ์ ดำรงพีสีนครเขตร ทศลักษณ์เกษตรอุดม บรมาราชสวามิภักดิ์ บริรักษ์ปัจฉิมานุทิศ สุจริตธรรมธาดา มหาโยนางคราชวงศาธิบดี เจ้านครเชียงใหม่ ( แก้ว )”
ในการเสด็จฯ กลับมาครั้งนี้ พระราชชายาฯ ได้นำแบบอย่างการฟ้อนรำในราชสำนักสยามมาเผยแพร่ในเชียงใหม่พร้อมทั้งนำครู ละคร ดนตรี จากกรุงเทพฯ ขึ้นมาฝึกหัดถ่ายทอดให้กับพวกตัวละครทั้งในวังของท่านและในคุ้มเจ้าผู้ครอง นครเชียงใหม่ เป็นเหตุให้การฟ้อนรำในเชียงใหม่เกิดการแตกต่างขึ้น เป็น ๒ แบบ คือ
แบบที่ ๑ เป็นแบบที่มีมาแต่เดิม เรียกทางวิชาการว่า “ แบบพื้นเมืองหรือแบบดั้งเดิม “
แบบที่ ๒ เป็นแบบที่ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงและประดิษฐ์ขึ้นใหม่เรียกทางวิชาการว่า “ แบบราชสำนัก “
การฟ้อน แบบพื้นเมือง หรือแบบพื้นบ้าน หรือแบบดั้งเดิม
มีลักษณะเชื่องช้า แช่มช้อย เรียบง่าย ไม่ค่อยพิถีพิถันในเรื่องการกรีดนิ้ว ตั้งข้อมือ ย่อเข่า ยกเท้า วางเท้า การทรงตัวรวมทั้งการยืดตัว ยุบตัวตามจังหวะเพลง
การฟ้อน แบบราชสำนัก
เป็นลักษณะการฟ้อน การรำใกล้เคียงกับภาคกลางหรือมีลีลา ท่ารำ ใกล้เคียงกับละคร ( นาง ) ใน ด้วยมูลเหตุเหล่านี้ ทำให้ชุดฟ้อนของเดิมเกิดความแตกต่างกันมากมาย ในความคิดรวบยอดของชนทั่วไป และเกิดกระบวนฟ้อนใหม่ๆ ขึ้นมากมายพอสมควร
สาเหตุที่เกิดการผิดแผกแตกต่างกันไปนั้น มีอยู่ ๒ ประการ ได้แก่
๑ . การแสดงแต่ละกระบวนฟ้อนมักประดิษฐ์ขึ้นมาโดย “ ผู้รู้ “ ในท้องถิ่น ตัวอย่างเช่น ฟ้อนแห่ครัวทาน ดังนั้นช่างฟ้อนของศรัทธาวัดต่างๆ แห่งหนึ่ง ซึ่งประดิษฐ์ขึ้นมาโดยผู้รู้คนหนึ่ง ย่อมแตกต่างกับช่างฟ้อนของศรัทธาอีกวัดหนึ่งที่มาร่วมเพราะประดิษฐ์โดยผู้ รู้อีกคนหนึ่งแต่อาจมีส่วนคล้ายกันเนื่องจากมีการถ่ายทอดให้กัน หรือเลียนแบบกัน แต่จะไม่เหมือนกันหรือตรงกันทุกอย่าง
๒ . เมื่อมีการรับเอาลีลาท่ารำของราชสำนักสยามเข้ามาเผยแพร่ เกี่ยวโยงกัน ทำให้การฟ้อนของช่างฟ้อนในวังพระราชชายาเจ้าดารารัศมีฯ หรือช่างฟ้อนในคุ้มเจ้าหลวงเชียงใหม่ผิดแผกแตกต่างกับลีลาท่ารำของช่างฟ้อน ที่เป็นชาวบ้านศรัทธาวัดต่างๆ เมื่อเป็นเช่นนี้ ลัทธิเอาอย่างจะด้วยเพื่อความถูกต้องสวยงามหรือเอาใจผู้มีอำนาจก็ตาม จึงเ ริ่มเข้าไปมีอิทธิพลในกลุ่มชนบางกลุ่ม จะเป็นเพราะความสนิทสนมทางครอบครัวส่วนตัว หรือขอร้องก็ตาม
เมื่อ เป็นเช่นนี้คำกล่าวหาที่ว่าศรัทธาคณะนั้นผิด ศรัทธาคณะนั้นถูกจึงเกิดขึ้น ครั้นมีการก่อตั้งวิทยาลัยนาฎศิลป์เชียงใหม่ขึ้น ทางราชการเชิญช่างฟ้อนในวังในคุ้มมาถ่ายทอดให้นักเรียนนักศึกษาและนำออกแสดง เผยแพร่ต่อสาธารณชนบ่อยครั้งขึ้นทำให้เกิดคำครหาว่า สถาบันราชการที่มีหน้าที่อนุรักษ์โดยตรงกลับเป็นผู้ทำลายเสียเอง
อย่าง ไรก็ตามหากเราจะศึกษาเรื่องการฟ้อนของชาวล้านนาเท่าที่มีอยู่แล้ว เราควรจะแยกกระบวนฟ้อนของชาวล้านนาออกเป็นประเภทใหญ่ๆ เสียก่อน คือ
ฟ้อนพื้นเมืองหรือฟ้อนแบบดั้งเดิม
การฟ้อนแบบนี้หมายถึงการฟ้อนต่าง ๆ ที่ตกทอดมาโดยไม่มีการปรับปรุง ซึ่งอาจมีอายุมากเท่ากับอายุของเมืองเชียงใหม่ หรือเกินกว่า ๕๐๐ ปี มาแล้ว แต่เราไม่อาจบอกได้ว่าเรียงร้อยด้วยท่าฟ้อนที่มีชื่อว่าอะไรบ้าง เกิดขึ้นในสมัยใด มีลีลาท่าทางอย่างไร เพราะไม่มีหลักฐานเหลือไว้ให้ศึกษาสืบค้นหารายละเอียดได้เลย แต่ก็พอจะสรุปวัตถุประสงค์ของการฟ้อนได้จากสาเหตุ ๒ ประการ คือ
ก . เพื่อใช้ประกอบพิธีกรรมตามความเชื่อและศรัทธาต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย เริ่มจาก “ ผี “ ก่อน ได้แก่ ฟ้อนผีจากนั้นพัฒนาไปหา “ พุทธ “ ได้แก่ ฟ้อนแห่ครัวทาน ฟ้อนทานข้าวใหม่ฯ
• เพื่อความสนุกสนานบันเทิงในกลุ่มของตน เช่นงานปีใหม่ ( สงกรานต์ ) งานขึ้นบ้านใหม่ งานบวชลูกแก้ว ฯลฯ
ทั้งนี้พอจะจำแนกการฟ้อนของล้านนาออกมาได้เป็น ๗ กระบวนฟ้อน ดังนี้
๑ . ฟ้อนแห่ครัวทาน ( อ่าน “ แหคัวตาน ”)
๒ . ฟ้อนผี
๓ . ฟ้อนหางนกยูง
๔ . ฟ้อนปั่นฝ้าย
๕ . ฟ้อนแง้น
๖ . ฟ้อนเชิง ( อ่าน “ ฟ้อนเจิง ”)
๗ . ฟ้อนดาบ
๘ . ฟ้อนหอก
๙ . ฟ้อนกลายลาย ( อ่าน ‘’ ฟ้อนก๋ายลาย )
ฟ้อนที่ประดิษฐ์ในราชสำนัก
การฟ้อนแบบนี้หมายถึง การฟ้อนที่พระราชชายาเจ้าดารารัศมีทรงประดิษฐ์ขึ้น หรือการฟ้อนที่ผู้ใกล้ชิดกับพระราชชายาฯ ได้ประดิษฐ์ ซึ่งพบว่ามี ๙ กระบวนฟ้อน คือ ๑ . ฟ้อนเล็บ – ฟ้อนแห่ครัวทาน
๒ . ฟ้อนเทียน
๓ . ฟ้อนเงี้ยว ( แบบในวัง )
๔ . ฟ้อนล่องน่าน ( น้อยไชยา )
๕ . ฟ้อนกำเบ้อ
๖ . ฟ้อนม่านมุ้ยเชียงตา
๗ . ฟ้อนมูเซอ
๘ . ฟ้อนโยคถวายไฟ
๙ . ฟ้อนสาวไหม
๑๐ . ฟ้อนเงี้ยว
ฟ้อนเงี้ยวหมายถึงการฟ้อนแบบไทใหญ๋ พบว่าอยู่ ๖ อย่าง คือ
๑ . ฟ้อนเงี้ยว
๒ . ฟ้อนไท ( ฟ้อนไต )
๓ . ฟ้อนโต
๔ . ฟ้อนนก หรือ ฟ้อนกิงกะหร่า
๕ . ก้าลาย
๖ . ก้าไท ( ก้าไต )
๔ . ฟ้อนที่ประดิษฐ์ขึ้นในระยะหลัง
เมื่อศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นเริ่มเป็นที่สนใจของคนทั่วไปแล้ว ก็ได้มีผู้ประดิษฐ์การฟ้อนรำขึ้นอีกหมายแบบ เช่น ฟ้อนหริภุญชัย ฟ้อนที ( ฟ้อนร่ม ) ฟ้อนพัด ฟ้อนเก็บใบยาสูบ ฟ้อนยอง ฟ้อนศิลามณี ฯลฯ เป็นต้น ในจำนวนฟ้อนที่ประดิษฐ์ใหม่ซึ่งเป็นที่ยอมรับพอสมควร เช่น
๑ . ฟ้อนหริภุญชัย
๒ . ฟ้อนยอง
ในที่นี้จะกล่าวถึงการฟ้อนแต่ละอย่างพอให้ป็นที่รู้จักตามหัวเรื่องโดยลำดับ