วัดอุโมงค์ ตำบลศรีภูมิ อำเภอเมืองเชียงใหม่ 129 ถนนราชภาคินัย ตำบลศรีภูมิ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ 50200 สร้างเมื่อปี พ.ศ. 1910
วัดอุโมงค์ (มหาเถรจันทร์) ๑๒๙ ถนนราชภาคินัย ตำบลศรีภูมิ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ผู้เขียนได้ไปดูวัดอุโมงค์ ตำบลศรีภูมิ ซึ่งตั้งอยู่ในกำแพงเมืองนครเชียงใหม่ ในต้นฤดูหนาว พ.ศ. ๒๔๖๑ พบว่า เป็นวัดร้างมีอาณาบริเวณไม่กว้างนัก มีซากอุโมงค์ สำหรับการเดินจงกรม ยาว 6 เมตร กว้าง ๑.๑๐ เมตร ลึกประมาณ ๒.๑๐ เมตร เศษ ๆ มีป้ายเป็นแผ่นไม้ ติดอยู่กับหลักโยเย้บอกชื่อว่า “วัดอุโมงค์เถรจันทร์”
วัดอุโมงค์มหาเถรจันทร์ ตั้งอยู่เลขที่ 29 ถ.ราชภาคินัย ต.ศรีภูมิ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ เป็นวัดที่ตั้งอยู่ด้านในของกำแพงเมืองเชียงใหม่ ซึ่งบริเวณใกล้เคียงวัดจะมีวัดบ้านปิง วัดสำเภา วัดหมื่นล้าน ซึ่งอยู่กลางใจเมืองเชียงใหม่ ถึงแม้ว่าจะเป็นวัดที่ไม่ใหญ่มากนัก
ในต้นฤดูหนาว ปี พ.ศ.2461 พบว่าเป็นวัดร้าง มีอาณาบริเวณไม่กว้างมากนักและมีซากอุโมงค์สำหรับเป็นที่เดินจงกรม มีความยาวประมาณ 6 เมตร กว้าง 1.1 เมตร ลึกประมาณ 2.1 เมตร มีป้ายติดอยู่กับหลักบอกชื่อว่า “วัดอุโมงค์ (เถรจันทร์)” เรียกอีกอย่างว่า “วัดโพธิ์น้อย” มีเนื้อที่ทั้งหมด 2 ไร่ 2 งาน 43 ตารางวา เป็นวัดที่กรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน ตั้งแต่ปี พ.ศ.2522 สิ่งสำคัญภายในวัดก็จะมี วิหารเป็นสถาปัตยกรรมล้านนา สร้างขึ้นระหว่างปีพุทธศตวรรษ 24-25 เจดีย์องค์ใหญ่ที่อยู่หลังวิหาร
สำหรับเจดีย์ด้านทิศใต้ของวิหารนี้ เป็นโบราณสถานที่สำคัญของวัดอุโมงค์เถรจันทร์เพราะมีศิลปกรรมที่ผิดแผกไปจากเจดีย์ทั่วๆไปของจังหวัดเชียงใหม่ ตามลักษณะของเจดีย์แล้ว คาดการณ์กันว่าอาจจะสร้างเมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ 20 ซึ่งถ้าเป็นอย่างนี้จริง เจดีย์องค์นี้น่าจะเป็นแบบอย่างของโบราณสถานที่มีอายุเก่าแก่ของแคว้นล้านนาไทย ที่เริ่มสร้างขึ้นเมื่อพุทธศตวรรษที่ 19 ทั้งนี้เพราะยากที่จะหาโบราณสถานใดๆในศิลปะแบบล้านนาที่จะมีอายุเก่าแก่ราวพุทธศตวรรษที่ 21 ได้
ในตำนานใบลานได้จารึกไว้ว่า พระภิกษุรูปหนึ่งชื่อ “พระมหาเถรจันทร์” ซึ่งเป็นพระเถรผู้ใหญ่ในยุคนั้นมีความแตกฉานในทางคดีโลกและคดีธรรม เป็นที่เคารพของคนทั้งหลาย พระเจ้ากือนา กษัตริย์อันดับที่ 7 ของเมืองล้านนาไทย ก็ได้ให้ความเคารพนับถือพระเถรจันทร์องค์นี้อย่างสูง เมื่อพระองค์มีข้อสงสัยพระการใด ก็ทรงให้อำมาตย์ ราชบุรุษนำราชยานไปรับ เพื่อเข้าเฝ้าชี้แจงข้อสงสัย ต่อมาเมื่อ “วัดโพธิ์น้อย” ซึ่งมีพระมหาเถรจันทร์เป็นเจ้าอาวาสอยู่ได้ชำรุดทรุดโทรมลงมาก จึงได้โปรดให้สร้างกุฏิ วิหาร อุโบสถและพระเจดีย์อุโมงค์ ซึ่งก็เสร็จสิ้นเรียบร้อยแล้ว เมื่อปี พ.ศ.1918 และทรงตั้งชื่อว่า “วัดอุโมงค์มหาเถรจันทร์” บางครั้งพระมหาเถรจันทร์ไปพำนักที่วัดไผ่ 11 กอ เชิงดอยสุเทพเพื่อความสงบ เมื่อพระเจ้ากือนาทรงทราบจึงให้อำมาตย์ราชบุรุษไปสร้างวัดอุโมงค์ไว้อีกที่หนึ่ง ในปี พ.ศ.1921 พระมหาเถรจันทร์จึงได้เป็นเจ้าอาวาสทั้งสองวัด เมื่อท่านอายุได้ 77 ปี มีพรรษาได้ 56 พรรษา ท่านก็ได้มรณะภาพลงที่วัดอุโมงค์แห่งนี้ ในปี พ.ศ.1945
รายการอ้างอิง
วัดอุโมงค์เถรจันทร์. วัดในจังหวัดเชียงใหม่. ค้นเมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2551
รายนามเจ้าอาวาส ตั้งแต่รูปแรก จนถึงปัจจุบัน มีจำนวน ๑๑ รูป รูปที่ ๑. พระมหาเถรจันทร์ เป็นเจ้าอาวาสปี พ.ศ. ๑๙๑๒ – ๑๙๕๓ รูปที่ ๒. พระอธิการปัญญา ปญญาธโร เป็นเจ้าอาวาสปี พ.ศ. ๑๙๕๓ – ไม่ทราบ รูปที่ ๓. พระอธิการปิ่นตา ฐิตวํโส เป็นเจ้าอาวาสปี พ.ศ. ไม่ทราบ – ไม่ทราบ รูปที่ ๔. พระอธิการจันทร์แก้ว จนทวํโส เป็นเจ้าอาวาสปี พ.ศ. ไม่ทราบ – ไม่ทราบ รูปที่ ๕. พระใบฏีกาอินไหล อิทธิญาโณ เป็นเจ้าอาวาสปี พ.ศ. ไม่ทราบ – ๒๕๑๕ รูปที่ ๖. พระธวัชชัย อาภาโส เป็นเจ้าอาวาสปี พ.ศ. ๒๕๑๕ – ๒๕๑๖ รูปที่ ๗. พระคำหมื่น คนธวํโส เป็นเจ้าอาวาสปี พ.ศ. ๒๕๑๖ – ๒๕๑๗ รูปที่ ๘. พระบุญส่ง วิสุทธสีโล เป็นเจ้าอาวาสปี พ.ศ. ๒๕๑๗ – ๒๕๑๘ รูปที่ ๙. พระดวงคำ ธมมทินโน เป็นเจ้าอาวาสปี พ.ศ. ๒๕๑๘ – ๒๕๑๙ รูปที่ ๑๐. พระอธิการเติม ถาวโร เป็นเจ้าอาวาสปี พ.ศ. ๒๕๒๐ – ๒๕๒๖ รูปที่ ๑๑. พระอธิการสุขสันต์ กนตสีโล เป็นเจ้าอาวาสปี พ.ศ. ๒๕๒๗ – ปัจจุบัน